นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน


การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานมีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยหลัก ใหญ่จำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ จังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานยกเว้น 3 จังหวัดในกลุ่มอีสานใต้ คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ กลุ่มอีสานเหนือมีการแสดงพื้นเมือง เช่น เซิ้งบั้งไฟ หมอลำ เป็นต้น กลุ่มอีสานใต้มีการแสดงพื้นเมือง คือ เรือมอันเร กันตรึม กโน้บติงตอง เป็นต้น ศิลละปะการแสดงพื้นเมืองภาคอีสานมี 2 ชนิด คือ
1.การแสดงชุดฟ้อนภูไท เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวภูไท ซึ่งมีเชื้อสายสืบต่อกันมาช้านานในดินแดนทางภาคอีสานของประเทศไทย เช่น จังหวัดสกลนคร นครพนม และเลย ผู้ฟ้อนเป็นผู้หญิงล้วนๆ ใส่เสื้อแขนยาวสีดำขลิบแดง นุ่งผ้าถุงสีดำ เชิงผ้ามีลวดลายขลิบด้วยผ้าสีแดง สวมเครื่องประดับสร้อยคอ ต่างหูสีเงิน เกล้าผมมวยสูง ผูกด้วยผ้าสีแดง สวมเล็บยาวปลายเล็บเป็นพู่สีแดง ลีลาในการแสดงจะอ่อนช้อยนุ่มนวล การฟ้อนภูไทจะฟ้อนในโอกาสที่มีงานบุญ เช่น บุญมหาชาติ หรือในโอกาสงานรื่นเริงของวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ
2.การแสดงชุดเรือมอันเร เรือมอันเรหรือกระทบสาก มีชื่อเสียงในกลุ่มวัฒนธรรมไทย-เขมร เริ่มเล่นตามลานบ้าน หลังจากตำข้าวเสร็จจะมีหนุ่มมาแสดงความสามารถเอาสากมากระทบแล้วกระโดดข้าม สากเข้า-ออก ต่อมานิยมเล่นในเทศกาลตรุษต่างๆ เช่น ตรุษสงกรานต์ เป็นต้น ผู้แสดงทั้งหญิงและชาย มีผู้กระทบสากเป็นชาย 2 คน อยู่คนละข้าง การแต่งกายหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นหรือโจงกระเบน สวมเสื้อแขนสามส่วนหรือแขนยาว คล้องผ้าเฉียงบ่า ส่วนชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าคล้องไหล่และผ้าคาดพุง
การแสดงเรือมอันเรจะเริ่มต้นตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
จังหวะถวายครู เป็นจังหวะเริ่มมีจังหวะเร็วผู้เต้นเข้าสาก
จังหวะเจิงมุย เป็นจังหวะช้า ผู้เต้นเข้าสากขาเดียว
จังหวะเจิงปริ เป็นจังหวะเร็ว ผู้เต้นจะเต้นและรำเข้าสากสองขา
จังหวะมะลบโดง (ร่มมะพร้าว) เป็นจังหวะช้า เน้นการรำที่อ่อนช้อยสวยงาม
ต่อจากนี้จะเป็นจังหวะเร็ว เต้นท่าพลิกแพลง เป็นท่ากายกรรมและเป็นจังหวะช้า อำลา ผู้เต้นถือพานดอกไม้หรือขันน้ำประพรมผู้ชม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น