หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาษาท่า

 
ภาษาท่า คือ การแสดงท่าทางแทนคำพูด รวมทั้งแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ภาษาท่านี้เป็นการใช้ภาษาอย่างหนึ่งที่วิวัฒนาการมาจากธรรมชาติ ปกติมนุษย์จะใช้ท่าทางและสีหน้าประกอบคำพูด เช่น กวักมือเข้า หมายถึงให้เข้ามา โบกมือออกหมายถึง ให้ออกไป
ภาษาท่าที่ใช้แสดงออกมาด้วยกิริยาท่าทางนั้น มีมากเท่ากับภาษาที่เปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด
กิริยาท่าทางต่าง ๆ ที่แสดงออกมาเป็นภาษาดังกล่าว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ใช้แทนคำพูด เช่น ตอบรับ ปฏิเสธ สั่ง เรียก เป็นต้น
2. แสดงกิริยาอาการ เช่น ยืน นั่ง เดิน ไป เป็นต้น
3. แสดงอารมณ์ เช่น รัก โกรธ ดีใจ เศร้า เป็นต้น

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ หมายถึง ท่าที่เลียนแบบท่าทางธรรมชาติ โดยนำมาปรุงแต่งให้ดูงดงามเพื่อประกอบการแสดงภาษาท่าจะใช้ในการแสดงละครทั่วๆไปและเป็นสิ่งที่ทุกชาติ ทุกภาษาเข้าใจโดยไม่ต้องอธิบาย หรือจะเรียนกว่าเป็นภาษาโลกก็น่าจะได้ เช่น การสั่นมือ ส่ายหน้า หมายถึงการปฏิเสธ การกวักมือ พยักหน้า หมายถึงการเรียก เป็นต้น ถ้าภาษาท่ามีนาฏยศัพท์เข้าไปเกี่ยวข้อง ควรใช้ว่า “ ภาษาท่าที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย หรือ ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น