นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง


การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง
ศิลปะการแสดงหรือการละเล่นพื้นเมืองของภาคกลางมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะเล่นกันในหน้าเทศกาลบ้าง เล่นกันทั่วๆไปบ้าง บางประเภทเป็นการร้องโต้ตอบกัน บางประเภทก็ร้องดำเนินเรื่องเรื่อยไปจนจบ เช่น เพลงเรือ เพลงหน้าใย นิยมเล่นกันในเทศกาลกฐิน ผ้าป่า เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพวน เพลงชักดาบ และเพลงเต้นกำรำเคียว นิยมเล่นในฤดูเกี่ยวข้าว เพลงเหย่ย เพลงพวงมาลัย เพลงระบำบ้านไร่ นิยมเล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์ เพลงปรบไก่ เพลงเทพทอง เพลงระบำบ้านนา เพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงฉ่อย ไม่จำกัดเวลา ในที่นี้จะกล่าวถึงศิลปะการแสดงหรือการละเล่นพื้นเมืองบางชนิดเพื่อจะได้ ทราบไว้เป็นแนวทางการศึกษา ดังนี้
1.การแสดงชุดรำเถิดเทิง-เทิ่งบองกลองยาว มีเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 สันนิษฐานว่า เป็นการละเล่นของทหารพม่าที่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาคนไทยนำมาปรับปรุงให้ มีท่ารำ และการแต่งกายแบบไทย
รำกลองยาวนี้บางที่เรียกว่า “เทิ่งบอง” ตามเสียงกลองที่ตี เป็นการละเล่นที่สนุกสนานของชาวภาคกลาง ปรับปรุงท่ารำให้งดงาม การแสดงฝ่ายชายจะสะพายกลองยาวรำคู่กับฝ่ายหญิง ในการร่ายรำมีการตีกลองยาวสลับกันไป จะมีผู้ตีเครื่องประกอบจังหวะได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และกองยาว เพื่อให้เกิดความสนุกยิ่งขึ้น นิยมเล่นในงานประเพณีต่างๆ
2.การแสดงชุดเต้นกำรำเคียว เต้นกำรำเคียวเป็นเพลงพื้นเมืองของจังหวัดนครสวรรค์ กรมศิลปากรส่งศิลปินไทยไปฝึกหัดการเต้นกำรำเคียวจากชาวบ้านสระทะเลตำบลย่าน มัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ.2504 โดยมีอาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งทำนองเพลงประกอบการแสดง
การแสดง ผู้แสดงมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มือถือเคียวและรวงข้าว แสดงท่าตามบทร้อง ซึ่งมี 11 บท คือ บทมา บทไป บทเดิน บทรำ บทร่อน บทบิน บทยัก บทย่อง บทย่าง บทแถ และบทถอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น